วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วัฒนธรรมไทยและการละเล่น

ประเพณีตักบาตรดอกไม้



ประวัติ[แก้]


ประเภณีตักบาตรดอกไม้มีตำนานมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยมีเรื่องเล่าว่า นายสุมนมาลาการ เป็นชาวเมืองราชคฤห์ เขามีหน้าที่นำดอกมะลิไปถวายพระเจ้าพิมพิสารวัน ละ 8 ทะนาน ทุกวัน และจะได้ทรัพย์วันละ 8 กหาปณะ ต่อมาเช้าวันหนึ่ง ขณะที่เขากำลังถือดอกไม้จะเข้าประตูเมือง เป็นเวลาที่พระพุทธเจ้าเสด็จออกบิณฑบาตพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เขาเห็นพระพุทธเจ้าแล้วเกิดความเลื่อมใส จึงถวายดอกไม้ด้วยดอกไม้ที่จะนำไปถวายพระราชาโดยมีความคิดว่า แม้จะต้องตายด้วยโทษประหารก็ยอม ชาวเมืองทราบดังนั้นจึงพาการโห่ร้องสรรเสริญเป็นอันมาก มีเพียงภรรยาของเขาที่ไม่พอใจ ภรรยาจึงนำความนั้นไปกราบทูลพระเจ้าพิมพิสาร แต่พระเจ้าพิมพิสารเป็นพระโสดาบัน นอก จากจะไม่โกรธแล้ว ยังนำความนี้กราบทูลพระพุทธเจ้าอีกที พระพุทธเจ้าได้กล่าวสรรเสริญนายสุมนมาลาการ ทำให้นายสุมนมาลาการได้รับของพระราชทานจากพระเจ้าพิมพิสารถึง 8 ชนิด คือช้าง ม้า ทาส ทาสี เครื่องประดับ นารี อย่างละแปด ทรัพย์อีก 8 พันกหาปณะ และบ้านส่วยอีก 8 ตำบล ครั้นกลับถึงวัด พระอานนท์ได้ กราบทูลผลบุญที่นายสุมนมาลาการจะพึงได้รับ พระพุทธองค์ตรัสว่า นายสุมนมาลาการได้สละชีวิตบูชาพระองค์ในครั้งนี้จักไม่ได้ไปเกิดในนรกตลอด แสนกัลป์[2]






ประวัติของทางจังหวัดสระบุรี[แก้]

ได้มีการค้นพบรอยพระพุทธบาทที่วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร ซึ่งอยู่ในสมัยพระเจ้าทรงธรรม และมรการกำหนดเทศกาลนมัสการรอยพระพุทธบาทขึ้น 2 ครั้ง ในเดือน 3 และ เดือน 4 ของทุกปี และในช่วงฤดูฝนใกล้กับวันเข้าพรรษา จะ มีดอกไม้ท้องถิ่นชนิดหนึ่ง ที่จัดอยู่ในกลุ่มพืชจำพวกกระชาย และขมิ้น ซึ่งจะออกดอกในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งชาวบ้านที่พบเห็นดอกไม้ชนิดนี้จึงได้เก็บนำมาถวายพระสงฆ์ และชาวบ้านได้เรียกชื่อดอกไม้ชนิดนี้ว่า "ดอกเข้าพรรษา" ซึ่งมาจากช่วงเวลาที่ดอกไม้ชนิดนี้บานในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาพอดี ชาวบ้านได้พร้อมใจกันนำดอกเข้าพรรษามาถวายพระสงฆ์ เพื่อนำไปสักการะรอยพระพุทธบาท เป็นประจำทุกๆ ปี

อ้างอิง



                                                       ขี่ม้าก้านกล้วย





ขี่ม้าก้านกล้วย เป็นการละเล่นเด็กไทย โดย อาศัยก้านกล้วยที่ปลูกไว้ตามบริเวณข้างบ้านและในสวน ซึ่งผู้ใหญ่มักทำให้เด็กๆ เล่นเพื่อความสนุกเพลิดเพลิน และเป็นการฝึกการความแข็งแรงไปในตัว










การเรียกชื่อ[แก้]

ใน ภาษาอังกฤษ ราชบัณฑิตยสถาน ได้กำหนดชื่อภาษาอังกฤษของการละเล่นนี้ ไว้ว่า "Banana rib hobbyhorse riding" จะไม่ใช้การทับศัพท์เนื่องจากไม่สามารถสื่อความหมายได้[1]

วิธีการทำ[แก้]

วัตถุ ดิบนั้น ทั้งหาง่ายมากและไม่ต้องเสียเงินเลย เพราะสิ่งที่ต้องใช้ก็คือ ต้นกล้วยนั่นเอง ตัดต้นกล้วยมาในลักษณะรูปร่างที่ผอมยาวเล็กน้อย จากนั้นก็ทำรูปร่างให้เหมือนกับคอม้า


วิธีการเล่น[แก้]

วิธี การเล่นคือ ขึ้นขี่บนก้านกล้วย แล้วออกวิ่ง จากนั้นส่งเสียงร้อง ฮี้ฮี้ แต่ถ้ามีผู้เล่น2คนขึ้นไป ก็สามารถจัดเป็นการแข่งขันขึ้นได้ โดยฝ่ายไหนวิ่งเร็วที่สุด ก็จะเป็นผู้ชนะ


ขี่ม้าก้านกล้วยกับปัจจุบัน[แก้]

ปัจจุบัน นี้ การขี่ม้าก้านกล้วยเริ่มเลือนหายไปจากสังคมปัจจุบัน เนื่องจากสภาพสังคมและยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปจากแต่ก่อน จึงทำให้การละเล่นเด็กไทยต่างๆ ลดลงไปมาก

เด็กชายรุ่งอรุณ ตัวนำโชคของการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติครั้งที่ 20
แต่ การขี่ม้าก้านกล้วยก็ยังสามารถพบได้ตามงานวัฒนธรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว และยังกลายเป็นสัญลักษณ์ (Logo) ในงานต่างๆ ที่สื่อความเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมไทย เช่น ตัวนำโชคของการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติครั้งที่ 20 หรือ สุโขไทเกมส์ เป็นเด็กชายผมจุกเล่นขี่ม้าก้านกล้วย

อ้างอิง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น